Lerson Tanasugarn, Ph.D.

ดร. เลอสรร ธนสุกาญจน์

Curriculum Vitae

Synopsis - บทสรุป

Dr. Lerson Tanasugarn has been a Faculty Member at the Faculty of Science, Chulalongkorn University for over 25 years while working to shape the intellectual property and technology transfer policies of Thailand. In the late 1980s he served as Science and Technology Policy Advisor to the Prime Minister. In the early 1990s, he was on the intellectual property law drafting committees that modernised Thai IP laws in response to the conclusion of the Uruguay Round of GATT. In the mid 1990s, he became director of the technology transfer office of Chulalongkorn University, the first such office in Thailand. When the Central Intellectual Property and International Trade Court was established in 1997, he served as an Associate Judge for a term of 5 years. He was also on the engineering board of the National Research Council of Thailand, on the executive board of the National Center for Metals and Materials, and on the Scholarship Sub-commission of the Civil Service Commission. Additionally, Dr. Lerson has been instrumental in shaping the national policies on space affairs and more recently on chemical safety in general and on the safety of manufactured nanomaterials in particular. Dr. Lerson has also been a scientific advisor for Biophile Corporation for over 20 years, with involvements in developing hundreds of pharmaceutical and cosmetic products.

ดร. เลอสรร ธนสุกาญจน์ เป็นอาจารย์ประจำที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มานานกว่า 25 ปี ในขณะเดียวกันกับที่ทำงานบุกเบิกด้านนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาและนโยบายการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศลงมาจนถึงระดับหน่วยงาน  ในปลายทศวรรษที่ 80 ดร. เลอสรรได้รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในต้นทศวรรษที่ 90 ดร. เลอสรรอยู่ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายและระบบทรัพย์สินทางปัญญาของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาทุกฉบับให้รองรับการสิ้นสุดของการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัย อันเป็นจุดเริ่มต้นขององค์การการค้าโลก (WTO) ในกลางทศวรรษที่ 90 ดร. เลอสรร รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา ในสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกับที่เริ่มทำงานด้านถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับบริษัทอย่างเต็มตัว  ในปี 2539 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเปิดทำการ ดร. เลอสรร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบรุ่นแรกเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนั้น ดร. เลอสรรยังเคยเป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย เคยเป็นกรรมการบริหารของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และเคยเป็นอนุกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (อกพ. วิสามัญ) ด้านการให้ทุนการศึกษาต่อในต่างประเทศ  ยิ่งไปกว่านั้น ดร. เลอสรรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนากิจการอวกาศ ต่อเนื่องกันทุกรัฐบาลตั้งแต่ปี 2532 เป็นเวลา 20 ปีเต็ม และเป็นคนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ไทยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอวกาศของประเทศเอเชียและแปซิฟิก (APSCO)  ในทศวรรษที่ผ่านมานี้ ดร. เลอสรร ได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนานโยบายความปลอดภัยด้านนาโนเทคโนโลยีของไทย และเป็นคนแรกๆ ที่ได้นำนโยบายดังกล่าวมาดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้เป็นผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยนาโน (NICT) ทั้งยังอยู่ในคณะผู้แทนไทยในเวทีความปลอดภัยนาโนระดับโลก ตั้งแต่ปี 2549 มาจนปัจจุบัน  ดร. เลอสรร เคยเป็นที่ปรึกษาของบริษัทเอกชนหลายแห่งในหลายวงการ เช่นเป็นที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ของบริษัทไบโอไฟล์จำกัด (มหาชน) เป็นเวลากว่า 20 ปี โดยมีส่วนในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภคมากกว่าหนึ่งร้อยรายการ

 

Present Position - ตำแหน่งปัจจุบัน

1988- Faculty Member, Department of Biochemistry, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1991- Scientific Advisor, Biophile Corporation, Bangkok, Thailand.
ที่ปรึกษา บริษัทไบโอไฟล์จำกัด (มหาชน)

 

Education - การศึกษา

1985-1986 Postdoctoral training in micro anatomy (University of North Carolina at Chapel Hill)
ทำวิจัยหลังปริญญาเอก ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
1985 Ph.D. in biology  (Harvard University)
ปริญญาเอก สาขาชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา
1978 A.M. in biology  (Harvard University)
ปริญญาโท สาขาชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา
1978 A.B. magna cum laude in biology  (Harvard College)
ปริญญาตรี สาขาชีววิทยา เกียรตินิยม High Honors จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา

 

 Special Training - การฝึกอบรมพิเศษ

2013 Specialist Bar in IP, Central Intellectual Property and International Trade Court, Bangkok, Thailand.
ประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญารุ่นที่ 2 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (อบรมระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2556)
2005 Association of University Technology Managers (AUTM) Graduate Course, Phoenix, AZ, USA.
การอบรมและสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยีขั้นสูง (Graduate Course) ของสมาคมผู้จัดการเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา
2005 Commercialization of Research Results Workshop, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการวิจัย ไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2004 From Bench to Boardroom Seminar, Washington, DC, USA.
การสัมมนาเรื่อง การนำเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการวิจัย ไปหาประโยชน์เชิงพาณิชย์  สหรัฐอเมริกา
2004 Association for Overseas Technical Scholarship (AOTS) Technology Licensing Office Program, Japan.
ฝึกอบรมการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเทคโนโลยี ที่ประเทศญี่ปุ่น
2002 Japan International Cooperation Agency (JICA) - Thailand’s Department of Intellectual Property (DIP) Capacity Building Program for Implementation of World Trade Organization (WTO) Agreements in Thailand: Training of Trainers on Intellectual Property Management in Industries, Intellectual Property Management in Research Institutes, and Basics on Trade Secret Act. Bangkok, Thailand.
ฝึกอบรมครูฝึกการจัดการเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม สถาบันวิจัย และความลับทางการค้า โดยการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นและกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
2002 Conference on Pharmaceutical Intellectual Property, London, UK.
ฝึกอบรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาของเภสัชภัณฑ์ที่ประเทศอังกฤษ
2002 Association of University Technology Managers (AUTM) Seminar on Licensing of Software and Digital Media, Chicago, USA.
การสัมมนาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์และงานในสื่อดิจิตัล จัดโดยสมาคมผู้จัดการเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย ที่เมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา
2002 Registered Patent Agent No. 1561, Ministry of Commerce, Thailand.
ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรไทย เลขที่ 1561
2001 Registered Patent Agent Training, Department of Intellectual Property, Ministry of Commerce, Thailand.
ผ่านการอบรมตัวแทนสิทธิบัตร ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
2000 Association for Overseas Technical Scholarship/ Japan Institute of Invention and Innovation (AOTS/JIII) Impact Evaluation Seminar, Tokyo, Japan.
ร่วมประชุมประเมินผลการฝึกอบรมด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากฝึกอบรมมาแล้ว 5 ปี
1998 Advanced Licensing Institute, Franklin Pierce Law Center, USA.
ฝึกอบรมการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ที่สถาบันอนุญาตให้ใช้สิทธิขั้นสูง ศูนย์กฎหมายแฟรงคลินเพียรซ์ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น The Franklin Pierce Center for Intellectual Property สังกัดโรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ (University of New Hampshire School of Law) สหรัฐอเมริกา
1996 Executive Short Course on Space Technology, Toulouse, France.
การฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับผู้บริหาร เรื่องเทคโนโลยีอวกาศ ที่ประเทศฝรั่งเศส
1995-2012 Association of University Technology Managers (AUTM) Mini Licensing Seminars held at several AUTM Annual Meetings in USA.
เข้าสัมมนาและฝึกอบรมระยะสั้น เกี่ยวกับการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ในการประชุมประจำปีหลายครั้ง ของสมาคมผู้จัดการเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย
1995, 2003 Intellectual Property Office Internship. Agricultural Biotechnology for Sustainable Productivity (ABSP) Project, Michigan State University, East Lansing, Michigan, USA.
ฝึกงานบริหารสำนักงานอนุญาตให้ใช้สิทธิเทคโนโลยี โครงการ ABSP ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สเตท มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา
1995 Conference on Establishment of the National Examination for Patent Attorneys, Hainan, China.
ร่วมการสัมมนาระหว่างรัฐบาลจีนกับสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป เพื่อก่อตั้งระบบการสอบใบอนุญาตสำหรับตัวแทนสิทธิบัตรจีน ที่เกาะไหหลำ ประเทศจีน
1995 Intellectual Property Rights in Multimedia Seminar, London, UK.
สัมมนาและฝึกอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในมัลติมีเดีย กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
1995 Association for Overseas Technical Scholarship/ Japan Institute of Invention and Innovation (AOTS/JIII) Training Program on Intellectual Property Rights, Japan.
ฝึกอบรมด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
1995 Licensing Executive Society (LES) Licensing Course, USA.
ฝึกอบรมการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยสมาคมผู้บริหารสำนักงานอนุญาตให้ใช้สิทธิ สหรัฐอเมริกา
1994-1997 Patent Drafting Courses, EC-ASEAN (3 annual sessions).
ฝึกอบรมการเขียนคำขอรับสิทธิบัตร โดยโปรแกรม อีซี-อาเซียน ได้สนับสนุนอาจารย์จากสำนักงานตัวแทนสิทธิบัตรในยุโรป ผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้มาฝึกตัวแทนสิทธบัตรในประเทศไทยเป็นรุ่นแรก  มีการเรียน 3 ครั้ง เว้นช่วงครั้งละ 1 ปี เพื่อให้นำความรู้ไปฝึกงานจริง ก่อนจะกลับมาเรียนต่อ
1994 Search and Examination for Patent Examiners, European Patent Office.
ฝึกอบรมการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร โดยอาจารย์จากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป ผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญา
1993 Intellectual Property Study Tours (Europe, USA).
ดูงานระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในทวีปยุโรป (สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป, Max Planck Institute, สำนักงานตัวแทนสิทธิบัตร, สมาคม CIPA, ฯลฯ) และสหรัฐอเมริกา ด้วยการสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
1993 Intellectual Property Study Tours (Asia).
ดูงานระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในทวีปเอเซีย ด้วยการสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยเยี่ยมชมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตร และที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ ใน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และ ฮ่องกง
1988 Intellectual Property Study Tours (USA).
ดูงานระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเยี่ยมชมหน่วยงาน 30 แห่ง ใน 30 วัน ด้วยการสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), สำนักงานกฎหมาย ดำเนิน สมเกียรติ บุญมา (DSB) และกระทรวงการต่างประเทศ

 

 Experience - ประสบการณ์